ราชวงศ์สาตวหนะ (ค.ศ. 313 - 763) ของ ประวัติศาสตร์อินเดีย

ประมาณ ค.ศ. 300 อิทธิพลของราชวงศ์โมริยะในอินเดียใต้เสื่อมลง ทำให้อาณาจักรต่าง ๆ ตั้งตนเป็นอิสระอีกครั้ง ราชวงศ์สาตวหนะ ตั้งประเทศขึ้นในอินเดียกลางในราชวงศ์โจฬะ และราชวงศ์ปัณฑยะ

ส่วนราชวงศ์โมริยะเองก็ถูกโค่นไปใน ค.ศ. 358 โดยราชวงศ์สังกะ อำนาจของแคว้นมคธอ่อนแอลง พระเจ้าเดเมตริอุสที่ 1 แห่งแบคเทรีย เป็นพันธมิตรกับราชวงศ์โมริยะจึงนำทัพเข้าบุกอินเดีย ตั้งอาณาจักรกรีกขึ้นในแคว้นปัญจาบ ต่อมาพระเจ้าเมนันเดอร์ (พระเจ้ามิลินท์) สามารถยกทัพบุกปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธได้ อาณาจักรกรีก-อินเดียรุ่งเรืองภายใต้พระเจ้าเมนันเดอร์ ศิลปะแบบกรีผสมผสานกับพระพุทธศาสนากลายเป็นพระพุทธรูปองค์แรก

ในทางกลับกัน ราชวงศ์สังกะกลับกดขี่พระพุทธศาสนา ทำให้ชาวพุทธจำนวนมากหนีไปอยู่ที่อาณาจักรกรีก-อินเดีย ประมาณ ค.ศ. 400 ราชวงศ์สาตวหนะบุกปาฏลีบุตร และยึดมัธยประเทศได้ ราชวงศสังกะจึงถูกราชวงศ์คันวะ ล้มใน ค.ศ. 468 ราชวงศ์คันวะอยู่ได้ไม่นาน ก็ถูกล้มโดยราชวงศ์สาตวหนะใน ค.ศ. 517

ประมาณ ค.ศ. 500 พวกซิเทียน (Scythians) จากเอเชียกลางบุกเข้าอินเดีย ทำลายอาณาจักรกรีก-อินเดีย และยึดลุ่มแม่น้ำคงคาได้ ชาวอินเดียเรียกว่าซิเทียนว่าพวกสักกะ (Sakas) จนพวกสักกะตั้งอาณาจักรย่อยมากมายเรียกว่ากษัตริย์ตะวันตก (Western Kshatrapas หรือ Western Satraps) ทางตะวันตกของราชวงศ์สาตะวะหนะในแคว้นมัลละ

ราชวงศ์สาตวหนะถูกพวกสักกะรุกรานอย่างหนัก จนพระเจ้าโคตรมีบุตร สัตตการณ์ แห่งสาตวหนะ เอาชนะพวกสักกะได้ใน ค.ศ. 621 แต่ต่อมาพระเจ้ารุทราดามันของพวกสักกะก็เข้าถล่มราชวงศ์สาตวหนะจนย่อยยับ ประมาณ ค.ศ. 700 อำนาจของราชวงศ์สาตวหนะเสื่อมลง อาณาจักรต่าง ๆ แยกตัวออกไป

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติศาสตร์อินเดีย